หน้าเว็บ

บทที่ 3

ความเป็นมาของครู
จาก แนวความคิดนี้ กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆ ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึก ถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดี เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมากในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภา สามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอ คณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริม ความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน
การฝึกหัดครู
การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญที่นักศึกษาจะได้เรียนรู้และพัฒนาการเรียนการสอน และงานในหน้าที่ครูอย่างเข้มข้นและเป็นรูปธรรม  เป็นโอกาสที่จะได้นำความรู้และทฤษฎี ไปประยุกต์ใช้ และสร้างองค์ความรู้ทางการศึกษา  เพื่อสร้างสรรค์และแก้ปัญหาในกระบวนการทำงาน โดยมีครูพี่เลี้ยง  อาจารย์นิเทศ และผู้บริหารสถานศึกษา เป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำ และความช่วยเหลือ
          การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูใช้ระยะเวลาในการฝึกปฏิบัติการสอนตามหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต 5 ปี เป็นเวลา 1 ปีการศึกษาตามข้อกำหนดของคุรุสภา  เพื่อยกระดับมาตรฐานการฝึกหัดครูให้สูงขึ้น โดยมุ่งหวังว่านักศึกษามีทักษะในการสอนและปฏิบัติงานในหน้าที่ครูอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีร่วมกับโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในท้องถิ่นจึงจัด
การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูขึ้น
การพัฒนาครูในศตวรรษใหม่
จับกระแสการพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21: ข้อคิดและทิศทางเพื่อการพัฒนาครูไทย
โครงการจับกระแสความเคลื่อนไหวและนวัตกรรมในการจัดการศึกษาและพัฒนาเด็กและเยาวชน(INTREND)โดยสถาบันรามจิตติภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ได้จัดเสวนาครั้งที่ 5 เรื่อง “จับกระแสการพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21 : ข้อคิดและทิศทางเพื่อการพัฒนาครูไทย"  
 กระแสการพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21 ได้กลายเป็นปรากฏการณ์สำคัญของการปฏิรูปการศึกษาทั่วโลก
ในรายงานเรื่อง
21st
Century Skills ได้พูดถึงแนวโน้มของคุณลักษณะของกำลังคนรุ่นใหม่ในอนาคตที่ย้ำทักษะร่วมสำคัญ
คือ
 3Rs 7C 2L” ที่เป็นทักษะจำเป็นยิ่งทั้งในทักษะพื้นฐานอ่าน เขียน คิดคำนวณ” (3R)และทักษะเท่าทันมีวิจารณญาณ สู่การสร้างสรรค์ ทำงานร่วมมือ สื่อสารยุคใหม่
เข้าใจพหุวัฒนธรรม ย้ำความเชื่อมั่น ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง
” (7C) รวมถึง “ทักษะการเรียนรู้และความเป็นผู้นำ” (2L) และยังชี้ทิศทางของการศึกษาที่จะเปลี่ยนไปไม่ว่าจะอิทธิพลของเทคโนโลยีสารสนเทศที่จะมาปฏิวัติการเรียนรู้ รูปแบบชั้นเรียนที่จะมีลักษณะเป็นห้องทำงานปฏิบัติการ (Studio) รวมถึงกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นเรียนเป็นทีมและลงมือทำ (Team
Learning & Action Learning
 จากการประมวลวรรณกรรมแนวทางและนวัตกรรมการพัฒนาครูที่ดูจะถูกเน้นหนักมากในปัจจุบันน่าจะมีสาระสำคัญครอบคลุมแนวโน้มเชิงวิธีการ
5ประการคือ
1) การสร้างระบบครูผู้เชี่ยวชาญเป็น Coach ประกบตัวฝึกปฏิบัติให้ครู เป็นการทำงานอย่างใกล้ชิดระหว่างครูผู้มีประสบการณ์กับเพื่อนครูในการแก้ปัญหาการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายกลุ่มหรือรายบุคคล
การมีระบบพี่เลี้ยงและการให้คำปรึกษาหารือ
 (Coaching &
Mentoring) จึงกลายเป็นกลไกและวิธีการสำคัญของการพัฒนาครูในปัจจุบัน
2) การผสมผสานกระบวนการวัดผลเข้ากับกระบวนการสอนอย่างแนบแน่น
ปรับให้ยืดหยุ่นหลากหลายใช้ได้ในหลายสถานการณ์ หลายเป้าหมายการวัด
โดยเฉพาะการวัดทักษะหรือคุณลักษณะใหม่ๆ ตามกรอบคิดร่วมสมัย
 
3) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาครู
เพื่อการฝึกอบรมหรือพัฒนาครูทางไกลผ่านรูปแบบ
 Web-Based Training ต่างๆ และเพื่อ “จัดการความรู้” ระหว่างครูด้วยกัน
4) การเปลี่ยนไปสู่โฉมหน้าใหม่ “โรงเรียนเรียนรู้
ครูนักวิจัย
” จากกรณีศึกษาประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศที่ต่างพยายามปรับรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนไปสู่การเป็น
องค์กรการเรียนรู้” ที่เน้นให้ครู
เรียนรู้และพัฒนาตนเองจากประสบการณ์สะสมซึ่งกันและกันมากยิ่งขึ้น 
5) ยุทธศาสตร์การสร้างแรงบันดาลใจ จุดไฟพลังครู” (Motivation
& Inspiration) เน้นการค้นหาและหนุนเสริม
ครูผู้จุดไฟการเรียนรู้” ครูในแบบดังกล่าวจะถูกเน้นการฝึกให้รู้จักตั้งคำถามดีๆ
เชื่อมโยงประเด็นสำคัญและตั้งโจทย์ชวนเด็กคิดได้มาก
แนวทางของการพัฒนาครูมักใช้ตัวอย่างจากครูผู้สร้างแรงบันดาลใจด้วยกันมาแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดประสบการณ์หรือการเน้นให้ฝึกตั้งคำถามดลใจ
 อันจะทำให้ผู้เรียนเกิดการใฝ่เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิตต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น