หน้าเว็บ

บทที่ 4

ลักษณะของครูที่ดี
สังคมคาดหวังว่า ครู คือ แบบอย่างที่ดีของศิษย์เป็นผู้สร้างสมาชิกใหม่ของสังคมให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพต่อสังคม ธรรมชาติของอาชีพครูเป็นอาชีพที่ต้องเกี่ยวข้องสัมผัสกับบุคคลอื่นอยู่เสมอ ฉะนั้นผู้ดำเนินอาชีพครูจึงต้องเป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน และใฝ่พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
เอกลักษณ์ของครูที่ดี
   1.อดทน รู้จักผ่อนปรนต่อปัญหา สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ทั้งในเวลาและนอกเวลาสอน 
      2.รับผิดชอบต่อหน้าที่ และต่อตนเอง
      3.เอาใจใส่ต่อการเรียนความประพฤติ ความเป็นอยู่
      4.ใฝ่หาความรู้ สำรวจ ปรับปรุงแก้ไขตนเองอยู่เสมอ
      5.ขยันหมั่นเพียร รู้จักคิดริเริ่ม
      6.มีความยุติธรรมและทำให้ศิษย์เกิดความอบอุ่นใจ
      7.ดำรงตนอย่างเรียบง่าย ประหยัดเหมาะสมกับสภาพอาชีพ
      8.เป็นผู้มีวัฒนธรรม และศีลธรรมตามศาสนาที่ตนนับถือ
      9. สุภาพเรียบร้อย ประพฤติดีสม่ำเสมอ เหมาะเป็นตัวอย่างที่ดีต่อศิษย์
   
ลักษณะของครูที่ดีตามคำสั่งสอนของพุทธศาสนา
ปิโย น่ารัก คือ การทำตัวเป็นที่รักต่อศิษย์และบุคคลทั่วไป การที่ครูจะเป็นที่รักแก่ศิษย์ได้ 
ครุ หมายถึง การเป็นบุคคลที่มีความหนักแน่นมั่นคง ทั้งในด้านของจิตใจที่หนักแน่นมั่นคง ที่จะดำรงตนอยู่ใน ความดีไม่หวั่นไหวไปตามอำนาจของกิเลสตัณหา
ภาวนิโย การเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีความประพฤติดีงามควรแก่การเคารพ
วจนัก ขโม เป็นผู้มีความอดทนต่อถ้อยคำโดยมีเจตนาดีเป็นที่ตั้งการอดทนต่อกริยา วาจาอันก้าวร้าวรุนแรงของ ผู้อื่นได้นั้น เป็นสัญลักษณ์ของความเข้มแข็ง 
 คัม ภีรัญจกถัง กัตตา สามารถขยายข้อความที่ยากให้ง่ายแก่การเข้าใจได้ การตีความในวิชาการนั้นๆ ให้ละเอียดลึกซึ้งง่ายแก่การเข้าใจ
น จัฏฐาเน นิโยชเย คือ การรู้จักและแนะนำศิษย์ไปในทางถูกที่ควรหมายถึง ไม่นำศิษย์ไปในทางที่เสื่อมเสีย หรือชักชวนไปสู่อบายมุข
ลักษณะของครูที่ดีตามพระราชดำรัส
 1 หมั่นขยันและอุตสาหะพากเพียร ตรงกับหลักธรรม วิริยะ หรือ วิริยารัมภะ” 
2 เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ  ตรงกับหลักธรรม "จาคะ"
หนักแน่น อดทนอดกลั้น  ตรงกับหลักธรรม "ขันติ"
รักษาตนให้อยู่ในระเบียบแบบแผน  ตรงกับหลักธรรม  "วัตตา"  หรือ  "วินโย"
ปลียกตัวปลีกใจจากความสะดวกสบาย  ตรงกับหลักธรรม  "สังวร"
ตั้งใจและมั่นคงให้แน่วแน่  ตรงกับหลักธรรม  "สมาธิ"
ซื่อสัตย์และรักษาความจริงใจ  ตรงกับหลักธรรม  "สัจจะ"
เมตตาและหวังใจ  ตรงกับหลักธรรม  "เมตตา"
วางใจเป็นกลางไม่วางอำนาจไปตามอคติ  ตรงกับหลักธรรม "อุเบกขา"
10 อบรมปัญญาให้เพิ่มพูนขึ้น   ตรงกับหลักธรรม  "ปัญญา"
ลักษณะของครูที่ดีตามทัศนะคติของบุคคลต่างๆ 
 1. มี ความสัมพันธ์อันดีกับนักเรียน คือ ครูต้องสนใจ เอาใจใส่ปัญหาของนักเรียน คอยตอบปัญหาต่าง ๆ ให้ชัดเจน แนะแนว ไม่แสดงอารมณ์รุนแรง ไม่เยาะเย้ย รู้จักระงับ อารมณ์ มีน้ำใจเป็นนักกีฬา อดทน วางตัวเหมาะสมกับเด็ก 
 2. มี ความรักในอาชีพครู มีส่วนช่วยแนะนำเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนเสมอ รับฟังคำแนะนำ ปรับปรุงตนเองเสมอ ทันสมัยต่อความรู้และกิจกรรมของครู เห็นว่าอาชีพ ครูดี สอนไม่อมภูมิ ร่วมมือสนับสนุนสมาคมการศึกษาหรือวิชาชีพที่สนใจ ทำตนให้เป็น ประโยชน์ต่อทางราชการ
 3. มี จรรยาครู ไม่แพร่ข่าวลือ ซื่อสัตย์ต่ออาชีพ ไม่ขโมยผลงานของผู้อื่น ไม่ให้ร้าย ผู้อื่น มีมารยาทในการติดต่อราชการตามลำดับสายงาน ไม่อ้างอิงศาสนามาทำให้ศาสนาอื่น เสียหาย ปรับปรุงตัวเองเสมอ
 4. มี คุณสมบัติส่วนตัวดี มีความซื่อตรง สติปัญญาดี เชื่อมั่นในตัวเอง มีความคิดริเริ่ม กระตือรือร้น คิดปรับปรุงโรงเรียน เป็นกันเองกับนักเรียน รู้จักผ่อนหนักเป็นเบา มีน้ำใจจริง สุภาพอ่อนโยน สุขภาพดี รู้จักร่วมมือ ไม่ทำกริยาอาการอันน่ารำคาญ พูดชัดแต่ไม่ตะโกน ตรง ต่อเวลา ให้คะแนนเที่ยงตรง เข้าใจกฎระเบียบ และปฏิบัติโดยเคร่งครัด รู้จักรักษากลิ่นปากและ กลิ่นตัว 
 5. มี รูปร่างท่าทางดี มีใบหน้าสะอาด ตัดผมเรียบร้อย สุภาพ โกนหนวดโกนเคราให้ เรียบร้อย เสื้อผ้าสะอาดเรียบร้อย รองเท้าขัดมันสะอาด สวมเสื้อผ้าเหมาะสมกับกาลเทศะ รักษา ท่าทางให้สง่างาม ไม่สูบบุหรี่หรือเคี้ยวหมากฝรั่งหรืออาหารระหว่างสอน รักษานิ้วมือ เล็บ ให้ สะอาดอยู่ตลอดเวลา รักษาฟัน ซ่อมฟันให้สะอาดเรียบร้อย แต่งกายสุภาพ รูปทรงสีสัน เหมาะสมกับการเป็นครู
ลักษณะของครูที่ดีจากผลงานการวิจัย
ด้านความประพฤติควรประพฤติแต่ความดีให้แก่นักเรียน นักศึกษา
ด้านความรู้วิชาการ  ควรมีความรู้นอกเหนือกว้างขวางนอกจากความรู้เฉพาะ
ด้านการเรียนการสอนควรพัฒนาการสอนให้ดียิ่งขึ้น
ด้านการปกครองนักเรียน  ควรฝึกให้นักเรียนมีวินัยควบคู่กับทางศีลธรรม
ด้านมนุษย์สัมพันของครู ควรสร้างคุณงามความดีให้แก่สังคม
ด้านบุคลิกภาพ ควรแต่งกายให้สุภาพ มีอารมณ์ให้มั่นคงแก่นักเรียนนักศึกษา มีเสียงพูดที่ชัดเจน
ด้านการทำงานนอกเวลา  และงานอดิเรกของครู 
ลักษณะครูที่ดีตามเกณฑ์มาตรฐานของคุรุสภา  
ลักษณะครูที่ดีตามเกณฑ์มาตรฐานของคุรุสภามี 3 หมวด ได้แก่
หมวดที่ 1  รอบรู้ สอนดี คุณลักษณะ พฤติกรรมหลัก
1.  ด้านความรู้และความสามารถในวิชาชีพครู   ได้แก่
รู้แผนการศึกษาของชาติ
รู้หลักสูตร คือ รู้จุดมุ่งหมาย และโครงสร้างหลักสูตร
รู้วิชาและเนื้อหาที่จะดำเนินการสอน
ทำการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ คือ เตรียมการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบครบทุกขั้นตอน
รู้หลักการประเมินผลและวัดผลของผู้เรียน
2.  ด้านสนับสนุนการเรียนการสอน
บริการเชิงแนะแนว
บริการด้านการจัดการนักเรียน
บริการด้านสื่อการเรียนการสอน
บริการด้านงานธุรการ
3.  ด้านรอบรู้สถานการณ์บ้านเมืองและความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ
ติดตามความเคลื่อนไหวของสถานการณ์บ้านเมือง
จับประเด็นสำคัญของบ้านเมือง
หมวดที่ 2  มีคุณธรรม  จรรยาบรรณ
มีความกรุณาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
มีความรับผิดชอบ
มีความยุติธรรม
มีวินัย
มีความขยัน
มีความอดทน
มีความประหยัด
มีความรักและศรัทธาในอาชีพครู
 มีความปฏิบัติงานในประชาธิปไตย
หมวดที่ 3  มุ่งมั่นพัฒนา
การพัฒนาตนเอง
การพัฒนาชุมชน
  ลักษณะของครูที่ดีที่พึงประสงค์
  ลักษณะครูที่ดีที่พึงประสงค์มี 3 ประการ ได้แก่
มีความรู้ที่ดีคือ การมีความรู้ในวิชาทั่วไป
มีทักษะการสอนที่ดีและการปฏิบัติหน้าที่คุณครูที่ดี
มีคุรุคุณธรรมนิยม คือ  มีคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณของความเป็นครู

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น