ศรัทธา
หมายถึง ความเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ ไม่งมงายไร้เหตุผล เป็นความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญา ศรัทธาที่มั่นคง หมายถึง ศรัทธาที่มีความรู้กำกับ ไม่หวั่นไหวเอนเอียงไปเพราะความไม่รู้ ความหลงงมงาย
ศรัทธา ความเชื่อ มีหลายระดับชั้น แต่ในที่นี้จะพูดถึงหลักความเชื่อ 4 ประการ ที่ควรศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างความสุข คือ
ความเชื่อกรรม คือ เชื่อเรื่องการกระทำที่เกิดขึ้นทางกาย วาจา ใจ ว่ามีทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว การทำชั่วทางกายเรียกกายทุจริต ทางวาจาเรียกวจีทุจริต ทางใจเรียกมโนทุจริต ส่วนการทำดีทางกายเรียกกายสุจริต ทาง วาจาเรียกวจีสุจริต ทางใจเรียกมโนสุจริต เป็นความมั่นใจในการกระทำอย่างชัดเจน เหมือนเข็มทิศสำหรับนำพาไปสู่ทิศต่างๆ ความเชื่อด้านนี้ก็จะนำไปสู่การกระทำต่อไป
ความเชื่อผลแห่งกรรม คือ เชื่อว่าการกระทำทั้งกาย วาจา ใจ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายดีหรือฝ่ายชั่ว จะต้องมีผลจากการกระทำนั้นอย่างแน่นอน และไม่มีอะไรสามารถเปลี่ยนแปลงผลของมันได้ กล่าวคือ ถ้าทำไม่ดี ก็ย่อมได้รับผลกรรมจากความทุกข์ ความลำบากเดือดร้อน ความอึดอัดคับแค้น แต่ถ้าทำดี ก็ย่อมได้รับผลเป็นความสุข ความสบาย ไม่เดือดร้อน ไม่อึดอัดวุ่นวาย มีผลทั้งในชาตินี้และชาติหน้า
ความเชื่อว่าทุกคนมีการกระทำเป็นของตนเอง คือ ความเชื่อที่ตอกย้ำลงไปว่า เมื่อทำดีย่อมได้รับผลดี เมื่อกระทำชั่วก็ย่อมได้รับผมชั่วนั้นตอบสนอง คือ ย่อมจะได้รับผลกรรมนั้นเป็นของตนเองแน่นอน เปรียบกับหว่านพืชผลเช่นใด ก็ได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำดีย่อมได้ดี ผู้ทำชั่วย่อมได้ชั่ว โดยที่ไม่มีผู้ใดสามารถทำกรรมแทนกันได้ ทุกคนล้วนได้รับผลกรรมที่ตนทำขึ้นทุกอย่าง ไม่มีงดเว้น เบี่ยงเบนออกไป
เชื่อในความรู้ของพระพุทธเจ้า คือ เชื่อในพระปัญญาของพระองค์ที่ทรงค้นพบหลักธรรมแล้วนำมาประกาศให้ชาวโลกรู้ ตาม มีความมั่นใจในพระองค์ว่าทรงเป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธะ ตรัสธรรมบัญญัติวินัยไว้ด้วยดี ทรงเป็นผู้นำทางที่แสดงให้เห็นว่า หากทุกคนฝึกฝนตนด้วยดี ก็สามารถเข้าถึงภูมิธรรมสูงสุดและหลุดพ้นได้ ดังที่พระองค์ทรงบำเพ็ญไว้เป็นแบบอย่าง
ศรัทธา ความเชื่อ มีหลายระดับชั้น แต่ในที่นี้จะพูดถึงหลักความเชื่อ 4 ประการ ที่ควรศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างความสุข คือ
ความเชื่อกรรม คือ เชื่อเรื่องการกระทำที่เกิดขึ้นทางกาย วาจา ใจ ว่ามีทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว การทำชั่วทางกายเรียกกายทุจริต ทางวาจาเรียกวจีทุจริต ทางใจเรียกมโนทุจริต ส่วนการทำดีทางกายเรียกกายสุจริต ทาง วาจาเรียกวจีสุจริต ทางใจเรียกมโนสุจริต เป็นความมั่นใจในการกระทำอย่างชัดเจน เหมือนเข็มทิศสำหรับนำพาไปสู่ทิศต่างๆ ความเชื่อด้านนี้ก็จะนำไปสู่การกระทำต่อไป
ความเชื่อผลแห่งกรรม คือ เชื่อว่าการกระทำทั้งกาย วาจา ใจ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายดีหรือฝ่ายชั่ว จะต้องมีผลจากการกระทำนั้นอย่างแน่นอน และไม่มีอะไรสามารถเปลี่ยนแปลงผลของมันได้ กล่าวคือ ถ้าทำไม่ดี ก็ย่อมได้รับผลกรรมจากความทุกข์ ความลำบากเดือดร้อน ความอึดอัดคับแค้น แต่ถ้าทำดี ก็ย่อมได้รับผลเป็นความสุข ความสบาย ไม่เดือดร้อน ไม่อึดอัดวุ่นวาย มีผลทั้งในชาตินี้และชาติหน้า
ความเชื่อว่าทุกคนมีการกระทำเป็นของตนเอง คือ ความเชื่อที่ตอกย้ำลงไปว่า เมื่อทำดีย่อมได้รับผลดี เมื่อกระทำชั่วก็ย่อมได้รับผมชั่วนั้นตอบสนอง คือ ย่อมจะได้รับผลกรรมนั้นเป็นของตนเองแน่นอน เปรียบกับหว่านพืชผลเช่นใด ก็ได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำดีย่อมได้ดี ผู้ทำชั่วย่อมได้ชั่ว โดยที่ไม่มีผู้ใดสามารถทำกรรมแทนกันได้ ทุกคนล้วนได้รับผลกรรมที่ตนทำขึ้นทุกอย่าง ไม่มีงดเว้น เบี่ยงเบนออกไป
เชื่อในความรู้ของพระพุทธเจ้า คือ เชื่อในพระปัญญาของพระองค์ที่ทรงค้นพบหลักธรรมแล้วนำมาประกาศให้ชาวโลกรู้ ตาม มีความมั่นใจในพระองค์ว่าทรงเป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธะ ตรัสธรรมบัญญัติวินัยไว้ด้วยดี ทรงเป็นผู้นำทางที่แสดงให้เห็นว่า หากทุกคนฝึกฝนตนด้วยดี ก็สามารถเข้าถึงภูมิธรรมสูงสุดและหลุดพ้นได้ ดังที่พระองค์ทรงบำเพ็ญไว้เป็นแบบอย่าง
ความเป็นครูแห่งศรัทธา
จากปัญหาการเรียนการสอนโดยภาพรวมแล้วที่ทำให้เด็กไม่มีความสุขในการเรียน ถูกแสดงออกมาหลายเรื่อง เช่น สภาพการเรียนการสอนที่น่าเบื่อ คุณครูไม่ยุติธรรมแก่นักเรียนในเรื่องของการให้คะแนน คุณครูใจร้ายไม่เข้าใจเด็ก เฆี่ยนตีและดุด่าเด็กแบบไม่สุภาพไม่มีเหตุผลคุณครูไม่ค่อยมาสอน คุณครูขี้เมามีกลิ่นสุราติดตัวขณะเข้ามาสอน คุณครูผู้ชายประพฤติตนไม่เหมาะสมกับนักเรียนหญิง ลวนลามแล้วขู่ห้ามบอกใครเด็ดขาด จะเห็นว่าปัญหาเหล่านี้ก็เป็นแค่ส่วนน้อยในโรงเรียนแต่มีเกือบทุกโรงเรียน พฤติกรรมของคูรูในลักษณะนี้ทำให้สถาบันการศึกษาเสื่อมโทรม เนื่องจากไม่ได้รับการยอมรับจากผู้ปกครองและเด็กนักเรียนไม่อยากที่จะไปเรียนไม่รักการเรียน ไม่ตั้งใจเรียน และพฤติกรรมที่ไม่ดีของครูเหล่านี้ยังเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีแก่นักเรียน ทำให้นักเรียนบางคนเอาเยี่ยงอย่างที่ไม่ดีของครูไปใช้ ทำให้นักเรียนกลายเป็นเด็กที่ไม่มีคุณภาพ สุดท้ายทำให้มาตรฐานการศึกษาในโรงเรียนต่ำลง ซึ่งสอดคล้องตามความตอนหนึ่ง จากพระบรมราโชวาทที่พระราชทานในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของวิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๑๐ ว่า
“ งานด้านการศึกษาเป็นงานสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของชาติเพราะความเจริญและความเสื่อมนั้น ขึ้นอยู่กับการศึกษาของพลเมืองเป็นข้อใหญ่ตามข้อเท็จจริงที่ทราบกันดีอยู่แล้ว ระยะนี้บ้านเมืองของเรามีพลเมืองเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งมีสัญญาณบางอย่างเกิดขึ้นด้วยว่า พลเมืองของเราบางส่วน เสื่อมทรามลงไปในความประพฤติและจิตใจ ซึ่งเป็นอาการที่น่าวิตกถ้าหากยังคงเป็นอยู่ต่อไป เราอาจจะเอาตัวไม่รอด ปรากฏการณ์เช่นนี้นอกจากเหตุอื่นแล้ว ต้องมีเหตุมาจากการจัดการศึกษาด้วยอย่างแน่นอน…เราต้องจัดการศึกษาให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น”
อริยสัจ 4 หมายถึง ความจริงอันประเสริฐ หรือความจริงของอริยบุคคล มีองค์ 4 คือ
1. ทุกข์ คือ ความจริงว่าด้วยทุกข์ ความไม่สบาย กายไม่สบายใจ ทุกข์มี 2 ประเภท คือ ทุกข์ประจำ ได้แก่ ความคิด ความแก่ ความตาย และทุกข์จร ได้แก่ ความโศกเศร้า เป็นต้น
2. สมุทัย คือ ความจริงว่าด้วยเหตุแห่งทุกข์ ได้แก่ ตัณหาหรือความทะยานอยาก มี 3 ประการ คือ กาม ตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา
3. นิโรธ คือ ความจริงว่าด้วยการดับทุกข์ หมายถึง การดับหรือการละตัณหา
4. มรรค คือ ความจริงว่าด้วยวิถีทางแห่งความดับทุกข์
ฆราวาสธรรม ธรรมของฆราวาสหรือผู้ครองเรือน บางที่เรียกว่า คฤหัสถ์หรือ ชาวบ้านธรรมดา คือ 1. สัจจะ คือความซื่อสัตย์ต่อกัน ซื่อตรงต่อกัน จะทำจะพูดอะไรก็ทำหรือพูดด้วยความซื่อสัตย์สุจริตไม่หลอกลวงคดโกง
2. ทมะ คือการรู้จักข่มจิตของตน รู้จักข่มความไม่พอใจเมื่อเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว คนอยู่ร่วมกันนานๆ ย่อมต้องมีอะไรผิดพลาดบกพร่อง ต้องรู้จักข่มไม่แสดงอาการพลุกพล่านหรือเกรี้ยวกราด
3. ขันติ คือความอดทน อดทนต่อความลำบากตรากตรำ ในการศึกษาเล่าเรียน ในการงานอาชีพ
4. จาคะ คือความเสียสละ สละวัตถุสิ่งของสงเคราะห์เอื้อเฟื้อกัน ช่วยเหลือผู้ทุกข์ยากขาดแคลน สละกำลังกาย กำลังสติปัญญาเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น